Forgot your password? Create an account
  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
News

Stockwave Online กระแสหุ้นออนไลน์ หุ้น หลักทรัพย์ การเงิน ข่าวเศรษฐกิจ

Home Economic View สรุปประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินรายวัน - ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย
สรุปประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินรายวัน - ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย PDF Print E-mail
Monday, 18 May 2015 09:02

Snapshot

 

สหรัฐอเมริกา

- มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้หลายประเภทของธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐ 3 แห่ง ซึ่งได้แก่ เวลส์ ฟาร์โก แอนด์ โค, แบงก์ ออฟ นิวยอร์ก เมลลอน คอร์ป และสเตท สตรีท คอร์ป

- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเบื้องต้นที่จัดทำโดยรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนของเดือนพฤษภาคมลดลงสู่ระดับ 88.6 จากตัวเลขขั้นสุดท้ายที่ระดับ 95.9 ในเดือนเมษายน ขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 96.0   ส่วนดัชนีภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันลดลงสู่ระดับ 99.8 จากระดับ 107.0 ในเดือนเมษายน ขณะที่ดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจอนาคตอยู่ที่ 81.5 จากระดับ 88.8 ในเดือนเมษายน ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า ดัชนีภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน และดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจอนาคต อยู่ที่ระดับ 107.0 และ 88.6 ในเดือนพฤษภาคมตามลำดับ

- ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) รายงานว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายนลดลง 0.3% หลังจากปรับตัวลง 0.3% ในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 5 ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% โดยได้รับแรงกดดันจากการปรับตัวลงของภาคเหมืองแร่และสาธารณูปโภค ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิต ปรับตัวลงสู่ระดับ 78.2% จาก 78.6% ในเดือนมีนาคมซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคมในปีที่แล้ว ทั้งนี้ผลผลิตในภาคการผลิต ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ทรงตัวในเดือนเมษายน แต่ผลผลิตในภาคเหมืองแร่ลดลง 0.8% และผลผลิตในภาคสาธารณูปโภคทรุดตัวลง 1.3%

ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) สาขานิวยอร์ครายงานวันนี้ว่า ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) ประจำเดือนพฤษภาคมปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.09  จากระดับ -1.19 ในเดือนเมษายน ขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับ 5.0 ทั้งนี้ ดัชนีที่สูงกว่า 0 บ่งชี้ถึงภาวการณ์ขยายตัวของธุรกิจ

- ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) สาขานิวยอร์ค รายงานผลสำรวจจากนักวิเคราะห์โดยส่วนใหญ่ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐในช่วงที่เหลือของปีนี้จะฟื้นตัวขึ้น หลังจากทรุดตัวลงในช่วงไตรมาสแรกที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศหนาวเย็น แต่อัตราการขยายตัวจะต่ำกว่าระดับ 3% หลังมีการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวที่ 2.5% ในช่วงที่เหลือของปีนี้ และในปีหน้า โดยเชื่อว่าความอ่อนแอในไตรมาสแรกส่วนหนึ่งเกิดจากปัจจัยชั่วคราว ซึ่งได้แก่ สภาพอากาศที่หนาวเย็น และความขัดแย้งด้านแรงงานในท่าเรือชายฝั่งตะวันตก นอกจากนี้ รายงานยังระบุว่า การลงทุนด้านการขุดเจาะสำรวจน้ำมันในสหรัฐจะลดลง อันเนื่องจากการทรุดตัวของราคาน้ำมัน

- ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) สาขาฟิลาเดลเฟีย รายงานผลสำรวจจากนักวิเคราะห์โดยระบุว่า นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐลงอย่างมาก หลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ ผลสำรวจบ่งชี้ว่านักวิเคราะห์ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปีนี้ ลงสู่ระดับ 2.4% จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 3.2% ในการสำรวจที่ทำไว้ในช่วงไตรมาสแรก ขณะที่นักวิเคราะห์ยังคาดว่าการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงของทั้งปี 2016 และ 2017 จะอยู่ที่ระดับ 2.8% และจะลดลงสู่ 2.5% ในปี 2018

 

ยุโรป: รัสเซีย

- ธนาคารกลางรัสเซียระบุว่า จะขยายการดำเนินมาตรการต่อต้านวิกฤติออกไปจนถึงวันที่ 1 ตุลาคม เพื่อช่วยให้ภาคธนาคารรับมือกับวิกฤติการเงิน หลังได้หารือเรื่องการขยายมาตรการกับนักการธนาคารต่างๆแล้วในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ธนาคารกลางรัสเซียได้ประกาศมาตรการเพื่อช่วยเหลือธนาคาร โดยอนุญาตให้ธนาคารต่างๆ สามารถใช้อัตราแลกเปลี่ยน 1 ใน 3 เพื่อกำหนดมูลค่าสินทรัพย์ที่มีการถ่วงน้ำหนักความเสี่ยง และอนุญาตให้สามารถตั้งสำรองหนี้สูญสำหรับการให้สินเชื่อแก่บริษัทที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียกรณียูเครนได้  ซึ่งในเบื้องต้น มาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ 1 ก.ค.นี้

 

เอเชีย: จีน

- ผู้กำหนดนโยบายของจีนได้สั่งให้ธนาคารต่างๆปล่อยสินเชื่อให้แก่โครงการของรัฐบาลท้องถิ่นที่กำลังก่อสร้างต่อไป ซึ่งเป็นการแสดงความวิตกว่า มาตรการจัดการกับระบบธนาคารเงาทำให้งบรายจ่ายของรัฐบาลท้องถิ่นลดลง และกำลังกระทบเศรษฐกิจ เอกสารที่เผยแพร่ผ่านสภาแห่งรัฐระบุว่า สถาบันการเงินซึ่งได้ลงนามในสัญญาที่มีข้อผูกมัดทางกฎหมายก่อนสิ้นปี 2014 เพื่อให้สินเชื่อแก่โครงการก่อสร้างที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานระดมทุนของรัฐบาลท้องถิ่น (LGFV) นั้น ต้องไม่หยุดการปล่อยสินเชื่อ หรือลดขนาดสินเชื่อ

- นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียงของจีนได้สั่งการให้ข้าราชการดำเนินตามนโยบายของรัฐบาลกลางให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยต้องนำมาตรการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นมาใช้เพื่อปรับปรุงเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งขึ้น และรับมือกับแรงกดดันในช่วงขาลงต่อเศรษฐกิจ เศรษฐกิจจีนขยายตัว 7% ในไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งเป็นอัตราต่ำสุดในรอบ 6 ปี และข้อมูลเศรษฐกิจเดือนเม.ย.บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจชะลอตัวมากขึ้นในไตรมาส 2 ซึ่งสะท้อนถึงความท้าทายด้านนโยบายที่จีนกำลังประสบอยู่

 

ญี่ปุ่น

- นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) กล่าวว่า เขามองไม่เห็นความจำเป็นแต่อย่างใดในการผ่อนคลายนโยบายการเงินลงไปอีก เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อของญี่ปุ่นมีแนวโน้มโดยรวมปรับตัวดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ดีนายคุโรดะกล่าวเสริมว่าบีโอเจจะไม่ลังเลในการปรับนโยบาย ถ้าหากแนวโน้มในการปรับตัวดีขึ้นของภาวะเงินเฟ้อหยุดชะงักลง นายคุโรดะกล่าวว่าไม่มีความเป็นไปได้ที่บีโอเจจะพิจารณาเรื่องการปรับขึ้นเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ โดยเขากล่าวว่าอัตราเงินเฟ้อที่ 2 % ถือเป็นอัตราเป้าหมายที่เหมาะสมแล้วสำหรับญี่ปุ่น

 

มาเลเซีย

- เศรษฐกิจของมาเลเซียขยายตัว 5.6% ในไตรมาสแรก สูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เล็กน้อย ขณะที่การลงทุนในภาคเอกชนขยายตัวมากขึ้น ธนาคารกลางมาเลเซียยังเปิดเผยว่า ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1.0 หมื่นล้านริงกิต (2.80 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ในไตรมาสแรก เทียบกับ 5.7 พันล้านริงกิตในไตรมาส 4 ปี 2557 ทั้งนี้ค่ากลางในตัวเลขคาดการณ์ของผลสำรวจของรอยเตอร์คาดว่า จีดีพีจะขยายตัว 5.5% ในไตรมาสแรก ชะลอตัวจาก 5.8% ในไตรมาส 4 และคาดว่าจีดีพีทั้งปีจะขยายตัว 5.0% ลดลงจาก 6.0% ในปีที่แล้ว

 

อินโดนีเซีย

- อินโดนีเซียมียอดเกินดุลการค้า 454 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในเดือนเมษายน ซึ่งลดลงจาก1.03 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในเดือนมีนาคม ขณะที่นักวิเคราะห์ในผลสำรวจของรอยเตอร์คาดไว้ที่ 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การนำเข้าในเดือนเม.ย.มีมูลค่า 1.263 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 22.31% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะลดลง 18.77% ส่วนการส่งออกในเดือนเม.ย.ลดลง 8.46% สู่ระดับ 1.308 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะลดลง 7% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นับตั้งแต่เดือนธ.ค. อินโดนีเซียได้รายงานยอดเกินดุลการค้าทุกเดือน ขณะที่การนำเข้าลดลง มากกว่าการส่งออก ดังนั้นภาวะการค้าในช่วงที่ผ่านมาจึงปรับตัวดีขึ้นจากที่เคยขาดดุลการค้า 1.89 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปีที่แล้ว และขาดดุลการค้า 4.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2013

 

เกาหลีใต้

- ธนาคารกลางเกาหลีใต้ตรึงอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานที่ 1.75 % เป็นเดือนที่สองติดต่อกันในการประชุมเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา  ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ในตลาด ในขณะที่ธนาคารกลางเกาหลีใต้รอดูตัวเลขเศรษฐกิจที่จะช่วยยืนยันว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้กำลังฟื้นตัว และธนาคารกลางเกาหลีใต้ยังคงประเมินผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งก่อนๆหน้านี้

 

ไทย

- นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง เปิดเผยว่าขณะนี้ การส่งออกของไทยตกต่ำมาก และยังไม่แน่ใจว่าจะขยายตัวเป็นบวกหรือไม่ แม้ว่าที่ผ่านมาหลายฝ่ายยังคาดการณ์การส่งออกจะขยายตัวได้ 1% แต่ปัจจุบันการส่งออกของไทยที่มีสัดส่วนของการส่งออกระหว่างเพื่อนบ้าน ในกลุ่มซีแอลเอ็มวี ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ถึง 8-9% ซึ่งหากตัดการส่งออกของกลุ่มดังกล่าวออกไปแล้ว ตัวเลขการส่งออกของไทยอาจถึงขั้นติดลบ เนื่องจากภาวะที่เศรษฐกิจทั้งโลกมีปัญหาขยายตัวต่ำ ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องง่ายที่จะให้ขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

Money Market

- บาท/ดอลลาร์ วันศุกร์ ( 15 พค) เงินบาทอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงเช้าวันนี้สอดคล้องกับภาวะที่ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินเอเซียส่วนใหญ่ ทั้งนี้ภาวะที่เงินทุนต่างประเทศไหลออกจากตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้นของไทยต่อเนื่องในเดือนนี้ยังกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงนี้

- เยน/ดอลลาร์ วันศุกร์ (15 พค) ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยนในช่วงเช้าวันนี้ ทั้งนี้ในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯยังมีแนวโน้มแข็งค่าเมื่อเทียบกับเยนจากการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นตัวดีกว่าญี่ปุ่น ซึ่งทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯมีแนวโน้มขึ้นอัตราดอกเบี้ยในไม่ช้าในขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ในในช่วงนี้ค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯยังค่อนข้างทรงตัวเนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯโดยรวมในช่วงนี้ชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจจะไม่ขยายตัวมากเท่ากับที่คาดไว้ก่อนหน้านี้และอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯไม่รีบขึ้นอัตราดอกเบี้ย

- ยูโร/ดอลลาร์ วันศุกร์(15พค) ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินยูโรในช่วงเช้าวันนี้ ขณะที่ในช่วงนี้การแข็งค่าชองดอลลาร์สหรัฐฯเมื่อเทียบกับยูโรไม่มากเหมือนในช่วงก่อนหน้านี้เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯอาจจะไม่เร็วเท่ากับที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ดีในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้าดอลลาร์สหรัฐฯยังมีแนวโน้มแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินยูโรจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯมีแนวโน้มจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะที่ธนาคารกลางยุโรปยังมีแนวโน้มต้องดำเนินมาตรการ QE ต่อเนื่องและยังมีปัญหาหนี้กรีซที่ยังไม่สามารถเจรจาหาข้อยุติกับเจ้าหนี้ได้ ทั้งนี้ในช่วงตลาดสหรัฐฯเงินยูโรได้ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ

 

Capital Market

- ตลาดสหรัฐฯ วันศุกร์ (15 พค)  ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐปิดแทบไม่เปลี่ยนแปลงในวันศุกร์ หลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวก 0.11% สู่ 18,272.56, ดัชนี S&P 500 ปิดบวก 0.08% สู่ 2,122.73 และดัชนี Nasdaq  ปิดลบ  0.05% สู่ 5,048.29

- ตลาดหุ้นเอเชีย วันศุกร์ ( 15 พค) ดัชนีนิกเกอิปิดตลาดสูงขึ้น 0.83% ในวันนี้โดยมีปัจจัยหนุนจากการที่นักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯจะไม่รีบขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปิดลดลง 1.57% จากความวิตกเกี่ยวกับปริมาณหุ้นใหม่ โดยตลาดกำลังเผชิญกับแรงกดดันด้านสภาพคล่อง ขณะที่จะมีการขายหุ้น IPO ของบริษัท 20 แห่งในสัปดาห์หน้า ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าจะทำให้มีเม็ดเงินรอซื้อหุ้น IPO ราว 3 ล้านล้านหยวน (4.836 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)  ส่วนดัชนีฮั่งเส็งวันนี้ปิดตลาดเพิ่มขึ้น 1.96% โดยได้แรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นในช่วงบ่ายเนื่องจากความหวังที่ว่าจะมีการประกาศโครงการเชื่อมโยงระบบซื้อขายระหว่างตลาดหุ้นฮ่องกงและเสิ่นเจิ้น (Stock Connect) ในเร็วๆนี้

- ตลาดหุ้นไทย วันศุกร์ ( 15 พ.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้ปรับตัวสูงขึ้นนำโดยหุ้นในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ค้าปลีก และพลังงาน โดยปิดตลาดวันนี้ SET INDEX เพิ่มขึ้น 14.79 จุด

 

โดย สำนักวิจัยธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประจำวันที่ 16 พ.ค. 2558

Comments

avatar Theresa
0
 
 
Link exchange is nothing else except it is only placing the other person's blog
link on your page at suitable place and other person will also do similar in support of
you.

Also visit my site diet plans for women to lose weight (http://dietplansforwom entoloseweightf ast.com" rel="nofollow" target="_blank">http://dietplansforwom entoloseweightf ast.com)
Post Reply
B
i
u
Quote
Code
List
List item
URL
Name *
Code   
ChronoComments by Joomla Professional Solutions
Submit Comment
Cancel
B
i
u
Quote
Code
List
List item
URL
Name *
Code   
ChronoComments by Joomla Professional Solutions
Submit Comment
 
 

Login

Forgot your password? Create an account
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday14336
mod_vvisit_counterYesterday52922
mod_vvisit_counterAll days166367207

We have: 747 guests online
Your IP: 3.89.163.120
 , 
Today: Mar 29, 2024

4196048