TCAP เด่นรับตัวเก็งซื้อ SCIB |
![]() |
Tuesday, 15 December 2009 10:09 | |||
บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TCAP วันนี้ มีประเด็นเดียวที่ฮิตที่สุด คือ การซื้อกิจการของธนาคาร นครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฟื้นฟูฯ ) ท่ามกลางคู่แข่ง ที่แสดงความสนใจที่จะเข้าซื้อด้วยเช่นกันก็คือ แบงก์สโกเทีย ,HSBC , MAY BANK , แบงก์ออฟบาโรดา, ธนาคาร Standard Chartered , Australia & New Zealand Banking Group วันนี้นับว่า TACP โดดเด่นที่สุดในสายตาของผม "ธณพงศ์ มีทอง" แต่ก็น่าติดตามเช่นกัน "ใครจะเป็นผู้ชนะ" ในการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้ ข่าวที่มีผู้สนใจจำนวนมาก ทำให้ราคา SCIB ปรับขึ้นมาจำนวนมากจากแรงเก็งกำไรผ่านกระแสข่าวดังกล่าว ยอมรับว่าประเมินยากมากว่าราคาหุ้นจะปรับขึ้นไปมากน้อยเพียงไร เพราะกว่าจะสรุปว่า ใครจะได้ น่าจะเป็นต้นปี 53 เพราะตามกำหนดนั้น กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จะเริ่มเปิดประมูลการเสนอซื้อหุ้น SCIB จำนวน 47.6% ช่วงกลางเดือน ธ.ค. โดยตั้งเป้าจะขายหุ้นให้แล้วเสร็จในเดือน มี.ค.53 โดย TCAP แสดงว่าประสงค์จะยื่นเสนอการประมูลมานานมากแล้ว อีกหนึ่งของความน่าสนใจของ TCAP ก็คือ การที่มีหุ้นในมือแล้วกว่า 4% เมื่อได้หุ้นจากกองทุนฟื้นฟูฯ เข้ามา จะทำให้ TCAP กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทันที เมื่อมองศักยภาพของ TCAP ก็ต้องยอมรับว่า ที่นี่มีกระแสเงินสดสูงกว่า 2 หมื่นล้านบาทจากการขายหุ้น TBANK 49% ให้แก่ Scotiabank และการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ 9 พันล้านบาท TCAP และ Scotiabank ต่างวางแผนจะเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนให้ TBANK รายละ 2 หมื่นล้านบาทเพื่อใช้สำหรับดีล SCIB นั่นแสดงว่า TCAP พร้อมสำหรับการแข่งขันในครั้ง ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่า ราคาที่เสนอซื้อหุ้น SCIB ไม่น่าจะต่ำกว่าค่า PBV เฉลี่ยของกลุ่มธนาคารที่ 1.4 เท่า ก่อนหน้านี้กระทรวงการคลังวางแผนจะขายหุ้น ACL ให้แก่ Industrial and Commercial Bank of China (ICBC) ที่ 1.4 เท่าของมูลค่าตามบัญชี (BV) นอกจากนี้ กองทุนฟื้นฟูฯ ขายหุ้นไทยธนาคารให้แก่ CIMB ที่ 2.9 เท่าของมูลค่าตามบัญชี ดังนั้น SCIB มีแนวโน้มจะขายได้ในช่วง PBV 1.4 และ 2.0 เท่า (ที่เป็นค่าเฉลี่ย PBV ของกลุ่มธนาคารในประเทศภูมิภาคนี้) ซึ่งคิดกลับเป็นราคาหุ้นในช่วง 28 ถึง 40 บาทต่อหุ้น จึงมองว่าหากราคาเสนอซื้อเกิน PBV 2 เท่า TCAP อาจปฏิเสธ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ TCAP จะไม่มี SCIB ราคาหุ้นอาจจะปรับลงตามกระแส และมุมมองในอนาคตที่คาดว่าอาจจะไม่ดีมากนักเมื่อไม่มี SCIB แต่ก็ลองพิจารณาดูศักยภาพของ TCAP ดูบ้าง แล้วจะพบว่า แข็งแกร่งไม่เบา คือ แนวโน้มการทำกำไรก็ถือว่าแข็งแกร่ง หลังจากที่สินเชื่อเช่าซื้อฟื้นตัวในไตรมาส 4/52 แน่นอนว่ายอดขายรถยนต์ในงานมอเตอร์เอ็กโป ที่ผ่านมายอดขายเติบโตสูงกว่า 30% รายได้ค่าธรรมเนียมก็เติบโตแข็งแกร่ง และยังบริหารคุณภาพสินทรัพย์ได้ดี รวมไปถึงฐานเงินทุนแข็งแกร่ง บริษัทมี แนวโน้มขยายธุรกิจจากในและนอกองค์กร และถึงแม้จะไม่สามารถซื้อ SCIB ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่จะได้ก็คือ การขายหุ้น SCIB บริษัทคาดว่าจะมีกำไรจาการขายหุ้น SCIB ที่ถืออยู่ 4.99% จำนวน 1.4-2.7 พันล้านบาท (คิดเป็น EPS 1.0-2.0 บาท) หากมีการทำคำเสนอซื้อ (Tender offer) ที 1.4-2.0 เท่าของมูลค่าทางบัญชีของ SCIB จากผู้ที่ประมูลได้ TCAP ก็จะยังได้กำไรจากการขายหุ้นดังกล่าวออกมาด้วยเช่นกัน
|
Comments