ก้าวต่อไปของร้านค้าปลีกสมัยใหม่
Print
Wednesday, 21 February 2018 15:13

EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ ออกบทวิเคราะห์ เรื่อง  ก้าวต่อไปของร้านค้าปลี กสมัยใหม่  โดยระบุว่า ·    ร้านค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคส มัยใหม่ (modern grocery store) เป็นธุรกิจที่เติบโตได้อย่างโดด เด่นทั้งในแง่ของมูลค่าตลาดและจำ นวนสาขามาเป็นระยะเวลาหลายปี แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจะเห็นแนวโน้มการปิด สาขาของร้านค้าดังกล่าวในต่างปร ะเทศเพิ่มขึ้นมาก คำถามที่ตามมา คือ ธุรกิจดังกล่าวในไทยจะมีแนวโน้ม เป็นไปในทิศทางเดียวกับต่างประเ ทศหรือไม่ โอกาสในการขยายสาขายังมีอีกมากน้ อยเพียงใด และผู้ประกอบการจะรับมือกับการแ ข่งขันได้อย่างไร

·        อีไอซีมองว่าร้านค้าปลีกสินค้าอุ ปโภคบริโภคสมัยใหม่ในไทยยังมี แนวโน้มขยายสาขาได้ แต่ต้องเผชิญกับสภาวะการแข่งขัน ที่รุนแรง ส่งผลให้ผู้ประกอบการหันมาเลือก สรรทำเลสาขาอย่างระมัดระวังยิ่ง ขึ้น รวมถึงการพัฒนารูปแบบร้านค้าที่ เหมาะสมในแต่ละพื้นที่และนำเสนอ บริการใหม่ๆ ที่ช่วยสร้างความผูกพันกับผู้บริ โภค ทั้งนี้ การพัฒนาช่องทางออนไลน์ควบคู่กั บร้านค้า (omni-channel) รวมถึงการพัฒนาโมเดลธุรกิจรูปแบ บใหม่ๆ ตลอดจนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจ ะช่วยสร้างความแตกต่างและเพิ่มขี ดความสามารถในการแข่งขันของร้ านค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคสมั ยใหม่ในอนาคต

ร้านค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคส มัยใหม่ในไทยยังขยายตัวได้ต่ อเนื่อง แต่เริ่มเห็นสัญญาณการชะลอตัวจา กภาวะการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้ น สะท้อนได้จากภาพรวมของตลาดในช่ว งปี 2006-2013  ที่เคยเติบโตสูงถึงปีละ 8-9% แต่มาในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาการเติบโตเริ่มชะลอตั วลงมาอยู่ที่ราว 5% ต่อปี ซึ่งนอกจากจะเป็นผลมาจากการชะลอ ตัวของเศรษฐกิจแล้ว ยังมีสาเหตุสำคัญมาจากสภาวะการแ ข่งขันที่รุนแรงขึ้น เห็นได้จากยอดขายสาขาเดิม (Same Store Sales Growth: SSSG) ที่ชะลอตัวลงมาอยู่ในระดับต่ำ สะท้อนให้เห็นว่าการเติบโตในช่ว งที่ผ่านมาเป็นผลมาจากการขยายสา ขาใหม่เป็นหลัก ประกอบกับการเข้ามาของ e-Commerce และการพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ล้วนส่งผลให้ภาพรวมการแข่งขันใน อุตสาหกรรมทวีความรุนแรงยิ่งขึ้ น อย่างไรก็ตาม อีไอซีประเมินว่าตลาดร้านค้าปลี กสินค้าอุปโภคบริโภคสมัยใหม่ยัง มีแนวโน้มเติบโตได้ แต่อาจไม่สูงมากเช่นในอดีต โดยคาดว่าในช่วงอีก 3 ปีข้างหน้าจะเติบโตราว 4% ต่อปี เนื่องจากการขยายสาขาจะเป็นไปอย่ างระมัดระวังมากขึ้นทั้งในแง่ ของทำเลและโมเดลการดำเนินธุรกิ จที่เปลี่ยนแปลงไป

แม้ว่าการเติบโตของมูลค่าตลาดร้ านค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคสมั ยใหม่จะมีแนวโน้มชะลอลง แต่การเข้าถึงของไทยยังไม่สูงนั กเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วใ นเอเชีย โดยมูลค่าตลาดร้านค้าปลีกสินค้า อุปโภคบริโภคสมัยใหม่ต่อร้านค้า ปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมดข องไทยมีสัดส่วนอยู่ที่ราว 46% เทียบกับญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ที่มีสัดส่วนสูงถึงราว 70-80% สะท้อนให้เห็นว่าโอกาสการเติบโต ในไทยยังมีอีกมาก โดยเฉพาะการขยายสาขาไปยังพื้นที่ใหม่ๆ ตามแนวโน้มการพัฒนาของสังคมเมือ ง ทั้งนี้ จากข้อมูลของ World Bank พบว่า urbanization rate ของไทยในปัจจุบันอยู่ที่ราว 50% ซึ่งน้อยกว่าเกาหลีใต้และญี่ปุ่ นซึ่งอยู่ที่ราว 80-90% นอกจากนี้ หากพิจารณาในแง่การเข้าถึงร้านค้ า (modern grocery penetration) พบว่า จำนวนสาขาของร้านค้าปลีกสินค้าอุ ปโภคบริโภคสมัยใหม่ในไทยยังมี แนวโน้มขยายตัวได้อีก โดยเฉพาะรูปแบบร้านค้าขนาดเล็กอ ย่างร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์ เก็ต โดยจำนวนสาขาของร้านค้าปลีกสินค้ าอุปโภคบริโภคสมัยใหม่ต่อประชาก รไทยอยู่ที่ราว 200 สาขาต่อประชากร 1 ล้านคนซึ่งน้อยกว่าญี่ปุ่นและเก าหลีใต้ถึงราว 3-4 เท่า ทั้งนี้ ผู้เล่นรายหลักในไทยยังคงมีแผนข ยายสาขาอย่างต่อเนื่องแต่จะเห็น เทรนด์ของการขยายสาขาในรูปแบบขน าดเล็กมากขึ้น โดยคาดว่าในปี 2018 จะมีจำนวนร้านสะดวกซื้อและซูเปอ ร์มาร์เก็ตเพิ่มขึ้นอีกราว 10% และ 7% ตามลำดับ ขณะที่แนวโน้มการขยายสาขาของรูป แบบขนาดใหญ่อย่างไฮเปอร์มาร์เก็ ตนั้นเริ่มชะลอลง เนื่องจากปัจจัยหลายด้านทั้งพฤติ กรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ข้อจำกัดด้านกฎหมายผังเมือง รวมถึงพื้นที่ขนาดใหญ่ที่หายากขึ้ น ส่งผลให้โมเดลขนาดเล็กมีโอกาสมา กกว่า เนื่องจากตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใ หม่ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วแ ละครอบครัวมีขนาดเล็กลง อีกทั้งยังเป็นรูปแบบที่ขยายได้ รวดเร็วกว่า

การขยายสาขาร้านค้าปลีกสินค้าอุ ปโภคบริโภคสมัยใหม่ในไทยยังมีโอ กาสอีกมาก แต่ผู้ประกอบการเริ่มพิจารณาเลื อกทำเลและโมเดลธุรกิจด้วยความระ มัดระวังมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการขยายสาขาในกรุงเทพฯ ที่เริ่มมีความหนาแน่นของร้านค้ าสูงและมีการแข่งขันในแต่ละพื้น ที่มาก ส่งผลให้การขยายสาขาจะคัดเลือกทำ เลที่มีศักยภาพมากขึ้น เช่น การจับมือเป็นพันธมิตรกับผู้ประ กอบการอสังหาริมทรัพย์ในการขยาย สาขาตามคอนโดมีเนียม และการเปิดสาขาบริเวณสถานีรถไฟใ ต้ดินที่มีผู้คนสัญจรผ่านไปมาเป็ นจำนวนมาก ขณะที่ตลาดต่างจังหวัดยังมีพื้น ที่ที่มีศักยภาพในการขยายสาขาอี กมาก โดยเฉพาะในจังหวัดเมืองรอง ทั้งนี้ อีไอซีได้วิเคราะห์ถึงพื้นที่ที่มีโอกาสในการขยายสาขาใหม่ โดยพิจารณาจากกลุ่มจังหวัดที่มี อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลร วมจังหวัดต่อหัว (Gross Provincial Product per capita) ด้านค้าส่งค้าปลีกสูงที่สุด พบว่าจังหวัดที่มีดัชนีชี้วัดสภ าวะการบริโภคสินค้าอุปโภคบริโภค ต่อพื้นที่ค้าปลีกสูง (Index of retail saturation)[1] ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียง เหนือและภาคกลาง ได้แก่ แม่ฮ่องสอน หนองบัวลำภู หนองคาย เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร นครราชสีมา และชัยภูมิ เป็นต้น นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงโมเดลธุรกิจแล้ว พบว่า ร้านสะดวกซื้อยังคงเป็นรูปแบบที่มีโอกาสขยายตัวมากที่สุดในหลายพื้ นที่

สภาวะการแข่งขันที่รุนแรงยังส่ง ผลให้ผู้ประกอบการต้องหันมาพัฒน ารูปแบบร้านค้าให้เหมาะสมกับแต่ ละพื้นที่และเสริมสร้างประสบการ ณ์แปลกใหม่ให้แก่ผู้บริโภค ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ขนาดพื้นที่ต่อสาขาของ ร้านค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคส มัยใหม่มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปอ ย่างมาก โดยในส่วนของร้านสะดวกซื้อและซู เปอร์มาร์เก็ตมีขนาดพื้นที่ต่อส าขาเพิ่มขึ้น 23% และ 13% ตามลำดับ ในขณะที่ไฮเปอร์มาร์เก็ตมีขนาดพื้ นที่เล็กลง 12% เนื่องจากผู้ประกอบการได้พัฒนารู ปแบบสาขาใหม่ๆ เช่น มินิซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเป็นรูปแบบของร้านสะดวกซื้อ ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ส่งผลให้การแข่งขันระหว่างรูปแบ บมีแนวโน้มรุนแรงยิ่งขึ้น รวมถึงยังกดดันยอดขายต่อสาขาอีก ด้วย ทั้งนี้ ผู้ประกอบการหลายรายได้ดำเนินกล ยุทธ์เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตใ หม่ๆ ได้แก่ การพัฒนาร้านค้าสู่รูปแบบ grocerant ซึ่งจะเน้นการให้บริการอาหารควบ คู่กับการขายสินค้าอุปโภคบริโภค อาทิ ร้านสะดวกซื้อที่มีจุดเด่นในด้า นอาหารพร้อมทานและเครื่องดื่มเพื่ อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่ ต้องการความสะดวกรวดเร็ว หรือซูเปอร์มาร์เก็ตที่หันมาเน้ นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการอาหารที่ ช่วยสร้างประสบการณ์แปลกใหม่อย่ างกลยุทธ์ dine-in experience ที่นอกจากจะสร้างความผูกพันกับลู กค้าแล้ว ยังช่วยทำให้ยอดขายของสินค้าอาห ารสดเพิ่มขึ้นอีกด้วย

แม้ว่า online grocery จะเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประ จำวันของผู้บริโภคมากขึ้น แต่ช่องทางหลักในการซื้อสินค้าอุ ปโภคบริโภคยังคงผ่านทางร้านค้า ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐฯ การซื้อสินค้าออนไลน์ได้รับความ นิยมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ประกอบการค้าปลีกหลา ยรายได้รับผลกระทบอย่างหนักและจำ เป็นต้องปิดสาขาลงในหลายแห่ง อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจของ Morgan Stanley พบว่าผู้บริโภคกว่าครึ่งยังชื่น ชอบการเดินเลือกผลิตภัณฑ์อาหารส ดทางหน้าร้านมากกว่าการซื้อสิ นค้าดังกล่าวจากช่องทางออนไลน์ ทั้งนี้ แนวโน้มดังกล่าวสอดคล้องกับพฤติ กรรมผู้บริโภคไทย โดยจากการสำรวจของอีไอซีพบว่าผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าผ่านช่อง ทางออนไลน์ราว 33% นิยมซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเป็น ประจำ ซึ่งราว 58% ซื้อเพราะราคาและโปรโมชั่นที่ดึ งดูดใจ และอีก 35% ซื้อเพราะความสะดวกสบาย อย่างไรก็ดี ความถี่ในการซื้อสินค้าอุปโภคบริ โภคผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริ โภคไทยยังคงไม่บ่อยครั้งนัก โดยมีเพียง 20% ที่ซื้อบ่อยกว่า 3 ครั้งต่อเดือน ในขณะที่ผู้ที่ใช้บริการไฮเปอร์ มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ มากกว่า 3 ครั้งต่อเดือนมีจำนวนสูงถึง 43%, 27% และ 85% ตามลำดับ สะท้อนว่าร้านค้ายังคงเป็นช่องท างหลักสำหรับการซื้อสินค้าอุปโภ คบริโภค อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคก็มีแนวโน้มที่นิยมค้น หาข้อมูลและเลือกซื้อสินค้าจากห ลากหลายช่องทางควบคู่กันเพิ่มมา กขึ้น ดังนั้น การพัฒนาช่องทางออนไลน์ควบคู่กั บร้านค้า (omni-channel) ยังคงเป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญ

อีไอซีมองว่าการประยุกต์ใช้เทคโ นโลยีภายในร้าน จะช่วยสร้างความแตกต่างให้ผู้ปร ะกอบการร้านค้าปลีกสินค้าอุปโภค บริโภคสมัยใหม่ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลผู้บริโภคแบบ เรียลไทม์ในการนำเสนอโปรโมชั่นภ ายในร้านค้าที่ตรงใจ หรือการใช้หุ่นยนต์ช่วยเหลือภาย ในร้าน ที่นอกจากจะสามารถให้คำตอบและแน ะนำสินค้าให้ลูกค้าได้แล้ว ยังสามารถตรวจเช็คสต็อกสินค้าภา ยในร้านได้อย่างมีประสิทธิภาพอี กด้วย ซึ่งนอกจากจะช่วยให้การบริหารจั ดการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยังช่วยสร้างประสบการณ์ที่แปลกใ หม่แก่ผู้บริโภคด้วย

โมเดลธุรกิจใหม่ๆ ยังมีโอกาสที่จะเข้ามาเปลี่ยนแป ลงรูปแบบและการดำเนินธุรกิจของร้ านค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคสมั ยใหม่ในอนาคต เช่น 1) ระบบอัตโนมัติ

ที่เชื่อมต่อการสั่งสินค้าและที่อยู่อาศัย 2) ระบบสมาชิกเพื่อรับสินค้าเป็นรา ยเดือน และ 3) ระบบการซื้อขายสินค้าโดยตรงจากผู้ ผลิตถึงผู้บริโภค ซึ่งรูปแบบเหล่านี้จะส่งผลให้คว ามสำคัญของร้านค้าลดลงไป ดังนั้น ผู้ประกอบการควรเร่งสร้างความผู กพันกับผู้บริโภค อาทิ การนำเกมมาประยุกต์ใช้ในการทำกา รตลาดและการเลือกซื้อสินค้าให้ส นุกขึ้น (gamification) ทั้งในรูปแบบการสะสมคะแนนเพื่อแ ลกรางวัลหรือแข่งขันกับเพื่อน ซึ่งเป็นการนำเสนอประสบการณ์ที่ แปลกใหม่และช่วยให้ผู้ประกอบการ สามารถรับมือกับแนวโน้มที่เปลี่ ยนแปลงไปของร้านค้าปลีกสินค้าอุ ปโภคบริโภคสมัยใหม่ได้อย่างยั่ง ยืน

+++++++++++++++++++++++++++++++++++

The next chapter of modern grocery store

·        Modern grocery retailing has been a star sector due to its continued growth in market value and the number of stores. In the previous 2-3 years, however, the trend of store closure in modern grocery retailing internationally marked a stark contrast to the previous fortune. This raised several important questions: Are modern grocery retailers in Thailand likely to follow suit? Are there opportunities for expansion in the number of stores, and how do retailers handle the competition in the market?

·        EIC views that modern grocery retailers in Thailand can still achieve considerable growth. Nonetheless, they must face intense competition which is likely to result in a careful selection of store location. Retailers also need to develop their storefronts to accommodate the need of local consumers and introduce new services to create customer engagement. Additionally, the development of online retail channel alongside physical store (Omni-channel) is an important strategy for modern grocery retailers. To remain competitive, modern grocery retailers must adapt to innovative technologies to differentiate and create capabilities and competitiveness for the future.

Modern grocery retailers in Thailand are still growing but the sign of an impending slowdown is becoming more evident through increased competition. This trend can be observed in the overall picture of the modern grocery retailer market. During 2006 to 2013, this market used to grow by 8-9% per annum However, In the last 3-4 years, the growth decelerated to 5% per annum. This is attributed to the recent economic slowdown as well as the increasing in competition that can be observed from the reduced figures in the same store sales growth (SSSG) statistics. These statistics reveal that growth in the past occurred through the increase in the number of stores. In addition, the arrival of e-commerce and the introduction of new business models contributed to an increasing competitiveness. EIC analysis shows that modern grocery retailer market in Thailand can still grow but increasing competition means that the level of growth will not reach the previous height, with 4% becoming the new normal over the next 3 years. This is because retailers will become more cautious in the selection of a store location and the changing business models.

Despite the sign of slowing growth in the modern grocery market, penetration of the modern grocery in Thailand remains low compared with the developed economies in Asia. The proportion of modern grocery to total grocery market in Thailand is only 46%. Meanwhile, the value in Japan, South Korea, and Singapore is over 70-80%. This gap shows that there are still opportunities for modern grocery retailers in Thailand to grow, especially through opening new stores in the newly developed area of the country. Based on World Bank’s information, the urbanisation rate in Thailand has further room to grow with the current rate of 50% in contrast to 80-90% in South Korea and Japan. Furthermore, data on modern grocery penetration highlights that the number of stores in Thailand can still grow especially in the form of convenience store and supermarket. Currently, there are 200 modern grocery stores to 1 million people, 3-4 times lower than Japan and South Korea. In any case, major players in the Thai market already have a plan to increase the number of stores focusing on a small format. It is expected there will be an increase of convenient stores and supermarkets by 10% and 7% respectively in 2018. In contrast, the growth in the number of hypermarkets is likely to slow down because of several factors including changes in consumer behaviour, restrictions due to town and country planning law, and the difficulty in finding larger space for new stores. The smaller store format also means faster expansion. Consequently, smaller store format is more appropriate for the modern consumers who have a smaller family and crave convenience.

There are rooms for modern grocery retailers in Thailand to expand but business operators are becoming more cautious in selecting locations and business models. This trend can be observed in Bangkok where there is a high congestion in the number of modern grocery stores with heightened competitions. As a result, the selection of a location for a new store is becoming more cautious based on performance consideration such as partnering with residential developers to open new stores in condominiums and opening new stores in underground stations where there are lots of passers-by. Outside Bangkok, there are several cities that deserve recognition for possible expansion especially in second tier provinces. EIC analysis of potential store locations based on cites with the highest growth in gross provincial product per capita in terms of retailing reveals that cities with the highest index of retail saturation[1], meaning prime area for expansion, are in northeastern and central regions. These cities are: Mae Hong Son, Nong Bua Lam Phu, Nong Khai, Phetchabun, Kamphaeng Phet, Nakhon Ratchasima, and Chaiyaphum, to name a few. Furthermore, the convenient store format remains the store type that is likely to witness the strongest growth in several areas.

Increasing competition results in retailers needing to develop a storefront that is appropriate to each area while also creating a new experience for the consumers. In the past 10 years, the sizes of modern grocery stores are changing rapidly. The sizes of convenient stores and supermarket per store have grown by 23% and 13% respectively. Meanwhile, the size of a hypermarket store has decreased by 12% as businesses have adopted new store types such as mini-supermarket, a type that is characterised as a larger convenience store. This has led to a more intense competition among different store formats that put pressure on sales per store. To remain competitive, businesses have adopted new business strategies such as the grocerant format where high-quality food products are provided as ready-to-eat alongside the sale of other consumer goods. The example of such a store is a convenience store that specialises in ready-to-eat and drinks that respond to the lifestyle of new generations who desire speed and convenience. Supermarkets are also focusing on products development and food services that provide new experiences, such as dine-in, that creates customer engagement while also increasing the sale of fresh foods.

The emergence of online grocery is playing a larger part in the daily life of consumers. Nevertheless, physical stores remain the channel of choice. The example of this trend is in the USA where online shopping is becoming increasingly prevalent, resulting in an impact to the bottom-line and stores closure. However, a consumer research by Morgan Stanley reveals that almost half of consumers still prefer physical stores when purchasing fresh foods in comparison to the online channel. This finding is in-line with the trend found among Thai consumers where EIC research shows that around 33% of consumers who have purchased online buy consumer goods, 58% revealed that this is because of price and promotion advantages while 35% indicated that this is due to convenience. Nevertheless, the analysis shows that the frequency of online purchase in Thailand remains low with only 20% of respondents have purchased online more than 3 times per month. Meanwhile, the figures for having done shopping for more than 3 times per month at hypermarkets, supermarkets, and convenient stores were much higher (43%, 27%, and 85% respectively). This comparison highlights that physical stores are still the main channel for buying consumer goods. Still, consumers are increasingly relying on multi-channel for information search and products selection. Therefore, the development of online channel alongside physical stores (Omni-channel) remains an important business strategy.

EIC views that the adoption of innovative in-store technologies will help to create a unique selling point for modern grocery retailers. For example, using real-time analysis of consumer data to provide relevant promotions or the use of in-store robots, which is not only useful in helping customers but also useful for inventory management. Thus, the use of innovative technologies can increase efficiency and effectiveness for the retailers while also creating a unique experience for the consumers.

New business models can lead to changes in the format and operations of modern grocery stores in the future.  These include 1.) Automated products ordering system through smart appliances. 2.) Monthly subscription services, and 3.) Direct purchase from producers by consumers. The advent of these new business models can lead to a reduction in the importance of the modern grocery retailers. Therefore, retailers need to build a strong relationship with the consumers such as the adoption of gamification for to improve marketing and shopping experience. This may take the forms of point-collection for receiving rewards or to compete with their friends. The introduction of new customer experience can help retailers to withstand the changes in modern grocery shopping in a sustainable manner.

Written by :
กระแสหุ้นออนไลน์
 

Comments

B
i
u
Quote
Code
List
List item
URL
Name *
Code   
ChronoComments by Joomla Professional Solutions
Submit Comment