Forgot your password? Create an account
  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
News

Stockwave Online กระแสหุ้นออนไลน์ หุ้น หลักทรัพย์ การเงิน ข่าวเศรษฐกิจ

Home Hot News ธปท.เผยเศรษฐกิจเดือนม.ค.เริ่มฟื้นตัว
ธปท.เผยเศรษฐกิจเดือนม.ค.เริ่มฟื้นตัว PDF Print E-mail
Wednesday, 29 February 2012 16:06

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจในเดือนมกราคม 2555 ฟื้นตัวต่อเนื่องในทุกภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ขณะที่ภาคการผลิตและอุปสงค์ในประเทศทยอยปรับดีขึ้น ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี การจ้างงานปรับดีขึ้น และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงจากราคาอาหารสดหลังปัญหาอุทกภัยคลี่คลาย

 

สถานการณ์อุทกภัยที่คลี่คลายลง ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่กลับมาเป็นปกติ แม้จะมีข่าวแจ้งเตือนการก่อการร้าย โดยในเดือนนี้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 1.95 ล้านคน ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8 เทียบที่หดตัวร้อยละ 2.2 ในเดือนก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากอาเซียน จีน และรัสเซีย เป็นสำคัญ สอดคล้องกับอัตราการเข้าพักที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน

 

การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 15.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่หดตัวถึงร้อยละ 25.3 โดยเฉพาะการผลิตยานยนต์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ และหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ เนื่องจากโรงงานที่ประสบอุทกภัยสามารถกลับมาผลิตได้บางส่วน ประกอบกับปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตเริ่มคลี่คลายลง จากการที่ผู้ผลิตสามารถจัดหาวัตถุดิบจากทั้งในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศมาทดแทนได้มากขึ้น ทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 58.5 จากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 51.9

 

สำหรับผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 0.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน แม้ผลผลิตข้าวยังหดตัวจากผลกระทบของอุทกภัย แต่ผลผลิตสินค้าเกษตรชนิดอื่นๆ เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อย และมันสำปะหลังยังขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ 12 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามราคายางพาราและ

 

ปาล์มน้ำมันที่ในปีก่อนปรับสูงขึ้นมากจากภาวะอุปทานตึงตัวในตลาดโลก ส่งผลให้รายได้เกษตรกร หดตัวร้อยละ 11.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน

 

การฟื้นตัวของภาคการผลิตส่งผลดีต่อการจ้างงาน รายได้ รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ส่งผลให้อุปสงค์ในประเทศปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวของภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และปริมาณการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือน อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายในหมวดยานยนต์ยังหดตัวแม้จะมียอดค้างจองอยู่มาก เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์นั่งบางรายยังไม่สามารถกลับมาผลิตได้ ส่วนการลงทุนภาคเอกชนปรับดีขึ้น สะท้อนจากดัชนีในเดือนนี้ การจัดทำดัชนีการอุปโภคบริโภคและดัชนีการลงทุนภาคเอกชนใช้ข้อมูลการนำเข้าจากการประมาณการ เนื่องจากข้อมูลการค้าระหว่างประเทศอยู่ระหว่างการปรับปรุงสถิติตามระบบพิกัดศุลกากรใหม่

 

การลงทุนภาคเอกชนที่หดตัวร้อยละ 0.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ 3.9 เนื่องจากผู้ประกอบการทยอยกลับมาลงทุนซื้อรถยนต์เชิงพาณิชย์หลังจากการผลิตรถยนต์เชิงพาณิชย์กลับมาเป็นปกติ นอกจากนี้ ภาคธุรกิจยังมีการซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้างที่เสียหายจากอุทกภัย ส่งผลให้ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ปรับดีขึ้นภาครัฐยังกระตุ้นเศรษฐกิจได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากรอการประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี2555 ทำให้รายจ่ายรัฐบาลหดตัวทั้งรายจ่ายดำเนินงานและการลงทุนในสินทรัพย์ที่มิใช่ทางการเงิน

 

ขณะที่ภาครัฐยังจัดเก็บรายได้ได้น้อยกว่าปกติ เนื่องจากมีผลของการเลื่อนการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลจากผลกระทบของอุทกภัย และการต่ออายุมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลถึงออกไปจนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 ส่งผลให้รายได้น้อยกว่ารายจ่าย และรัฐบาลขาดดุลเงินสด 29.7 พันล้านบาท เสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี แนวโน้มการจ้างงานปรับดีขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.38 ชะลอลงตามราคาอาหารสดที่ชะลอลงหลังปัญหาอุทกภัยคลี่คลาย

ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 2.75 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนจากราคาอาหารสำเร็จรูป สำหรับการไหลออกสุทธิของเงินทุนเคลื่อนย้าย

Comments

B
i
u
Quote
Code
List
List item
URL
Name *
Code   
ChronoComments by Joomla Professional Solutions
Submit Comment
 
 

Login

Forgot your password? Create an account
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday964
mod_vvisit_counterAll days964

We have: 962 guests, 1 members online
Your IP: 216.73.216.145
Mozilla 5.0, 
Today: Jul 08, 2025

8182552