Forgot your password? Create an account
  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
News

Stockwave Online กระแสหุ้นออนไลน์ หุ้น หลักทรัพย์ การเงิน ข่าวเศรษฐกิจ

Home Hot News รัฐส่งรายได้รายเช้าคลัง 5 เดือนเพิ่มขึ้นกว่า1.37แสนล้าน
รัฐส่งรายได้รายเช้าคลัง 5 เดือนเพิ่มขึ้นกว่า1.37แสนล้าน PDF Print E-mail
Saturday, 23 March 2013 07:28

รัฐส่งรายได้รายเช้าคลัง 5 เดือนเพิ่มขึ้นกว่า1.37แสนล้าน

 

 

(23มี.ค.2556) -นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงข่าวฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 (ตุลาคม 2555 – กุมภาพันธ์ 2556) ว่า รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 807,906 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 137,274 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.5 ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิตรถยนต์ สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนถึงเศรษฐกิจภายในประเทศเติบโตอย่างต่อเนื่องและผลจากโครงการรถยนต์ใหม่คันแรก ในขณะที่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณมีจำนวนทั้งสิ้น 1,146,101 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 246,761 ล้านบาท หรือร้อยละ 27.4 ซึ่งเป็นผลจากการที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายของปีงบประมาณก่อนมีผลบังคับใช้ล่าช้า ประกอบกับรัฐบาลได้เร่งดำเนินนโยบายทางการคลังของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 338,195 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 115,074 ล้านบาท (สาเหตุหลักจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง 102,135 ล้านบาท) ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวม 453,269 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 155,492 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดหลังกู้ ขาดดุลทั้งสิ้น 297,777 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2556 มีจำนวนทั้งสิ้น 262,560 ล้านบาท

 

นายสมชัยฯ สรุปว่า “การขาดดุลเงินสดของรัฐบาลที่เกิดขึ้น เป็นไปตามความตั้งใจของรัฐบาลในการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในขณะที่เงินคงคลังยังอยู่ในระดับที่สูง สะท้อนให้เห็นถึงฐานะการคลังของรัฐบาลที่อยู่ในระดับที่เข้มแข็งและพอเพียงสำหรับการเบิกจ่ายเงินงบประมาณอย่างแน่นอน”

 

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 รัฐบาลขาดดุลเงินสดจำนวน 809 ล้านบาท โดยเป็นการ ขาดดุลเงินงบประมาณ 16,964 ล้านบาท ในขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุล 17,773 ล้านบาท ส่งผลให้ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลขาดดุลเงินสดจำนวน 453,269 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 155,492 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2556 มีจำนวนเท่ากับ 262,560 ล้านบาท ซึ่งเป็นระดับที่มีความมั่นคงต่อฐานะการคลังของรัฐบาล โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

1.    ฐานะการคลังเดือนกุมภาพันธ์ 2556

1.1    รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 135,110 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 7,031 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 5.5)

1.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 152,074 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกัน ปีที่แล้ว 106,987 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 41.3) เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 มีผลบังคับใช้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ทำให้โครงการต่างๆ เร่งการเบิกจ่ายในเดือนดังกล่าว ทั้งนี้การเบิกจ่ายเดือนกุมภาพันธ์ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 122,601 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 47.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว และรายจ่ายลงทุน 7,937 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว ส่วนการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อนจำนวน 21,536 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 43.7 (ตารางที่ 1)

 

การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ รายจ่ายของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ 11,240 ล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 4,093 ล้านบาท รายจ่ายของกระทรวงกลาโหม 2,361 ล้านบาท และรายจ่ายเงินอุดหนุนรัฐวิสาหกิจ 2,093 ล้านบาท

 

 

 

1.3 จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้น ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ขาดดุล 16,964 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ เกินดุล 17,773 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักจากรายจ่ายเงินอุดหนุนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและรายจ่ายของกรมสรรพสามิตที่เหลื่อมไปจำนวน 14,169 ล้านบาท และ 1,947 ล้านบาท ตามลำดับ ทำให้รัฐบาลเกินดุลเงินสดจำนวน 809 ล้านบาท ทั้งนี้รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 37,669 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) เกินดุลเท่ากับ 38,478 ล้านบาท (ตารางที่ 2)

 

2. ฐานะการคลังในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 (ตุลาคม 2555 – กุมภาพันธ์ 2556)

2.1 รายได้นำส่งคลัง รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 807,906 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 137,274 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 20.5) ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และสรรพสามิตรถยนต์ ได้สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน

2.2 รายจ่ายรัฐบาล การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 1,146,101 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 246,761 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 27.4) ประกอบด้วยรายจ่ายปีปัจจุบัน 1,011,409 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42.1 ของวงเงินงบประมาณ (2,400,000 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 23.5 และรายจ่ายปีก่อน 134,692 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 67.7 (ตารางที่ 3)

 

รายจ่ายปีปัจจุบันจำนวน 1,011,409 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 937,675 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 22.1 และรายจ่ายลงทุน 73,734 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 43.8

Comments

B
i
u
Quote
Code
List
List item
URL
Name *
Code   
ChronoComments by Joomla Professional Solutions
Submit Comment
 
 

Login

Forgot your password? Create an account
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday1012
mod_vvisit_counterAll days1012

We have: 1006 guests online
Your IP: 216.73.216.145
Mozilla 5.0, 
Today: Jul 07, 2025

8190384