Forgot your password? Create an account
  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
News

Stockwave Online กระแสหุ้นออนไลน์ หุ้น หลักทรัพย์ การเงิน ข่าวเศรษฐกิจ

Home Hot News เขื่อนไซยะบุรีพร้อมขายไฟฟ้าให้ กฟผ.-ลาว
เขื่อนไซยะบุรีพร้อมขายไฟฟ้าให้ กฟผ.-ลาว PDF Print E-mail
Monday, 21 October 2019 18:34

โรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี พร้อมแล้ว 100 %  จ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ให้ กฟผ.และลาว อย่างเป็นทางการ 29 ตุลาคมนี้ รับรายได้ปีละ 1.2-1.4 หมื่นล้านต่อปี ตลอดอายุสัมปทาน 31 ปี หลังใช้เวลาสร้าง 12 ปีทุ่มงบประมาณกว่า 1.35 แสนล้านบาท เล็งสร้างอีกเขื่อนบนลำน้ำโขงตอนบน  พร้อมมองโอกาสในพม่าด้วย ยันให้ความสำคัญทางธุรกิจควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม สุดทึ่งทางเรือผ่านในเขื่อนกลายเป็นอีกหนึ่งจุดไฮไลท์แวะชมของนักท่องเที่ยวทางเรือ

นายธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้พัฒนาและบริหารโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี เปิดเผยว่า โรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี ซึ่งมีกำลังการผลิต 1,280 เมกะวัตต์ (MW) มีความพร้อม 100% แล้วในการเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) โดยจะขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จำนวน 1,220 เมกะวัตต์ หรือ 95% และขายให้กับการไฟฟ้าของ สปป.ลาว (Edl) จำนวน 60 เมกะวัตต์ (5%) ในวันที่ 29 ตุลาคม 2562 นี้ หลังได้ทำการทดสอบเครื่องผลิตไฟฟ้าทั้ง 8 ชุดของ กฟผ.ตามเงื่อนไขสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ในอัตราเฉลี่ย 2 บาท/กิโลวัตต์ เป็นสัญญาสัมปทานระหว่าง รัฐบาล สปป.ลาว กับ บริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด ระยะเวลาสัญญาสัมปทาน 31 ปี สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้สูงสุด 7,600 ล้านหน่วย/ปี อย่างไรก็ตามโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีจะดำเนินการเต็มรูปแบบในปี พ.ศ.2563 ประมาณการรับรู้รายได้ 12,000-14,000 ล้านบาทต่อปี จากปริมาณน้ำเฉลี่ย

ทั้งนี้ คาดว่าการขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ของโรงไฟฟ้าไซยะบุรีจะเป็นปัจจัยหนุนที่ส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิในปี 2563 มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นไปแตะระดับตัวเลขสองหลัก หรือไม่ต่ำกว่า 10% จากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรเข้ามาในปี 2563 เต็มปี ทำให้อัตรากำไรสุทธิในปี 2563 จะเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ที่มีอัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ 7% และในปีนี้คาดว่าจะอยู่ในตัวเลขหลักเดียว

สำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบฝายทดน้ำขนาดใหญ่แห่งแรกบนแม่น้ำโขงตอนล่าง อยู่ห่างจากหลวงพระบางไปทางทิศใต้ประมาณ 80 กิโลเมตร และห่างจากปากแม่น้ำโขงประมาณ 1,900 กิโลเมตร  (อยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศไทย ติดกับจังหวัดน่าน อุตรดิตถ์และจังหวัดเลย) ใช้เวลาในการศึกษา 4 ปีและก่อสร้าง 8 ปี เริ่มก่อสร้างอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2555 งบลงทุน 135,000 ล้านบาท (รวมงบลงทุนเพิ่มเติมด้านสิ่งแวดล้อม 19,400ล้านบาท) ถือเป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“สำหรับกำลังการผลิตภายในโรงไฟฟ้าจะมีกังหันน้ำผลิตไฟฟ้ารวมทั้งหมด 8 เครื่อง ประกอบด้วย ชุดแรกจำนวน 7 เครื่องแต่ละเครื่องมีกำลังการผลิต 175 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้าส่งผ่านระบบส่งไฟฟ้าขนาด 500 กิโลโวลต์ เพื่อเชื่อมโยงกับระบบสายส่งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และชุดกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าชุดที่สองอีก 1 เครื่อง กำลังการผลิต 60 เมกะวัตต์ ที่จะผลิตและจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบส่งไฟฟ้าขนาด 115 กิโลโวลต์ใน สปป. ลาว”

นายธนวัฒน์ กล่าวว่าโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีออกแบบก่อสร้างในรูปแบบฝายทดน้ำ (Run-of-River) ซึ่งมีปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเท่ากับปริมาณน้ำที่ไหลออกจากโครงการ ไม่มีการกักเก็บน้ำ หรือเบี่ยงน้ำออกจากแม่น้ำโขง ดังนั้น ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านโครงการจะเป็นไปตามปริมาณน้ำที่มีตามธรรมชาติ เพราะไม่มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เหมือนเขื่อน ประเภทกักเก็บน้ำทั่วๆไป หลังจากก่อสร้างเสร็จและเริ่มผลิตไฟฟ้าจะทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงสูงขึ้นเฉพาะบริเวณด้านเหนือน้ำจากที่ตั้งโครงการฯ ไปถึงตอนใต้ของเมืองหลวงพระบาง โดยมีระดับน้ำใกล้เคียงกับระดับน้ำสูงสุดในฤดูน้ำหลากตามธรรมชาติ ส่วนตอนล่างหรือท้ายน้ำของโครงการ แม่น้ำโขงจะมีระดับน้ำปกติตามธรรมชาติ

“ซีเคพาวเวอร์ เราให้ความสำคัญในการสร้างสมดุลระหว่างธุรกิจและและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ไม่ได้เล็งผลด้านในการแสวงหาแต่ผลกำไรเป็นที่ตั้งอย่างเดียว แต่มีแนวคิดและความจริงใจในการบริหารโครงการที่เลือกการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาและอยู่ร่วมกับกับชุมชนอย่างยั่งยืน”นายธนวัฒน์ กล่าว

ในการทุ่มงบลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม 19,400ล้านบาท เขื่อนไซยะบุรี ได้สร้างทางปลาผ่านหลัก (Fish Ladder) และช่องยกระดับปลา (Fish Lock) เพื่อพาปลาไปยังลำน้ำโขงเหนือน้ำ นอกจากนี้ ยังมีประตูระบายน้ำล้น (Spillway) ทางระบายน้ำขนาดใหญ่ที่เปิดปิดเพื่อให้ควบคุมปริมาณน้ำให้เป็นไปตามธรรมชาติ โดยประตูน้ำ ทั้ง 11 บาน ที่ระดับความลึกต่างกัน โดยเป็นประตูระบายน้ำล้นระดับผิวน้ำ 7 บาน (Surface Spillway) และประตูระบายระดับท้องน้ำ( Low Level Outlet) จำนวน 4 บาน เป็นโครงสร้างสำคัญที่ทำให้โรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีแห่งนี้มีผลกระทบต่อระบบนิเวศและการเดินทางตามน้ำของฝูงปลาน้อยที่สุด

ขณะเดียวกัน ยังได้สร้าง เนวิเกชั่นล็อค (Navigation Lock) หรือช่องทางสัญจรเรือ มีเพื่อให้เรือสัญจรข้ามผ่านโครงสร้างโรงไฟฟ้าไปได้โดยอาศัยหลักการปรับระดับน้ำด้วยประตูน้ำ แบ่งการปรับระดับด้วยประตูทั้งหมด 3 ชุด และปรับระดับน้ำ 2 ระดับ ที่หัวน้ำระดับ 275และที่ท้ายน้ำระดับ 240 ซึ่งขณะนี้ ได้กลายได้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ในโซนหลวงพระบางและไซยะบุรี เรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่รับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย ลาวและชาวตะวันตกสายชิลล์ ล่องมาจากทางตอนเหนือของหลวงพระบางมาตามลำน้ำโขงมุ่งหน้าลงใต้ อาจจะมีจุดหมายไปไกลถึงนครหลวงเวียงจันทน์หรือเวียดนาม ต่างบรรจุโปรแกรมพาชมและล่องผ่านนาวิเกชั่นล็อคของโรงไฟฟ้าไปเป็นไฮไลต์ของการเดินทางไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นอกจากนี้ บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาการลงทุนโรงไฟฟ้าพลังน้ำอีกแห่งในประเทศลาว และมองโอกาสในประเทศเมียนมา ด้วย ซึ่งเป็นประเทศที่มีศักยภาพในด้านภูมิศาสตร์ของแหล่งน้ำที่สามารถเข้าไปลงทุนได้ โดยที่การลงทุนในลาวจะมองไปที่ลาวตอนบนของแม่น้ำโขง ช่วงที่ยังมีความลาดชันของเส้นทางน้ำ ส่วนในเมียนมา จุดที่น่าสนใจจะอยู่ที่บริเวณแม่น้ำสาละวิน ซึ่งถือเป็นทำเลที่มีศักยภาพในการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้า เนื่องจากมีปริมาณไหลของน้ำมากและลาดชันสามารถผลิตไฟฟ้าได้จำนวนที่มากขึ้น

Comments

B
i
u
Quote
Code
List
List item
URL
Name *
Code   
ChronoComments by Joomla Professional Solutions
Submit Comment
 
 

Login

Forgot your password? Create an account
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday26506
mod_vvisit_counterYesterday52922
mod_vvisit_counterAll days166379377

We have: 336 guests online
Your IP: 35.175.113.125
 , 
Today: Mar 29, 2024

15038192