มอง TMB แบบ "ธณพงศ์ มีทอง" |
![]() |
![]() |
![]() |
Monday, 30 November 2009 14:05 | |||
เห็นราคาหุ้น TMB ขยับแต่ละครั้ง มองเห็นการเก็งกำไรของนักลงทุน ที่เก็งกำไรกันจริงๆ วันนี้ก็เลยของมอง TMB อีกมุมหนึ่งบ้าง มองในมุมที่เป็นแบงก์ที่มีสาขาทั่วประเทศ มีพนักงานประมาณ 9 พันคน และที่สำคัญการปรับโครงสร้างภายในใหม่จะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี โดยกลยุทธ์ที่จะทำให้แบงก์แห่งนี้ใช้เดินหน้า และถือเป็นทิศทางที่ทั้งองค์กรถือปฎิบัติ เขาเรียกว่า TMB Way เป้าหมายคือ "การเป็นธนาคารชั้นนำ มาตรฐานระดับโลก" TMB Way ที่ว่า ก็คือ 1.ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง หรือ Customer Centricity ในฐานะที่เป็นธุรกิจเกี่ยวข้องกับการให้บริการ ลูกค้าจึงเปรียบเสมือนคนสำคัญ ที่นี่จึงให้พนักงานมีทัศนคติที่ว่า "ลูกค้าของธนาคารเป็นความรับผิดชอบของทุกคน ว่าต้องช่วยกันคิด ช่วนกันทำ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า 2.สื่อสารอย่างเปิดกว้าง หรือ Open Communications หมายถึงการเปิดใจในการสื่อสาร กล้าที่จะเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ ตรงไป ตรงมา ขณะเดียวกันก็พร้อมจะเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อเป้าหมายให้ที่นี่เป็นองค์กรที่มีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ สามารถนำมาปรับปรุงให้การทำงานของพนักงานดีขึ้น 3.มุ่งมั่นสร้างความสำเร็จ (High Performance) คือรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำงานเป็นทีม มองผลประโยชน์ส่วนตัวมาก่อน เพื่อผลลัพท์ออกมาในงานที่สำเร็จ มาตรฐานสูง ตรงนี้จะถือว่า Win Win ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ผู้ถือหุ้นหรือสังคม 4.รู้จักบริหารความเสี่ยง หรือ Risk Management ตรงนี้ถือว่าสำคัญ ธุรกิจธนาคารทุกแห่งเหมือนกันหมด ที่ต้องบริหารความเสี่ยง ในแผน ยกให้เป็นหน้าที่ของทุกคน ทุกหน่วยงาน ให้ทุกคนใช้ความรู้ ความสามารถในการจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้น 5.ยึดมั่นในความถูกต้อง หรือ Integrity โดยยึดความถูกต้อง ความซื่อสัตย์ โดยเฉพาะกับการรักษาคำมั่นต่อลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าประทับใจ และกลับมาใช้บริการของธนาคารอีก เหล่านี้คือ TMB Way ที่จะยึดถือปฏิบัติ และผลักดันให้องค์กรเติบโต เช่น การธุรกิจระหว่างประเทศ โดยตั้งเป้ามีส่วนแบ่งตลาด 14% ภายใน 5 ปี ด้วยเทคโนโลยี imaging Workflow ที่ทันสมัย พร้อมสนับสนุนธุรกรรมของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการทำธุรกิจระหว่างประเทศ ปัจจัยหลักที่ยึดถือก็คือ ลดความยุ่งยากและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ระบบนี้ TMB ถึงกับลงทุนเป็นเงินสูงถึง 85 ล้านบาท โดยจะเอื้อให้ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์ร่วมกับธนาคาร เสมือนมีศูนย์บริการธุรกิจต่างประเทศ TMB (TMB International Business Center) อยู่ในที่ทำการของลูกค้า โดยจะเริ่มให้บริการได้ ภายในไตรมาสแรกของปี 2553 และคาดว่าจะทำให้ได้ส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มเป็น 14% ในปี 2556 โดยตั้งเป้าไว้ขั้นแรกที่ 4% ในปีหน้า นี่คือหนึ่งของ TMB ที่จะเริ่มเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน รวมไปถึงแผนการล้างขาดทุนสะสมในปี 2553 คาดว่าจะประมาณเดือน พ.ค. 2553 วิธีการคือ จะล้างส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น และขาดทุนสะสม ด้วยการลดพาร์ เพื่อที่จะสามารถจ่ายเงินปันผลได้ในปี 53 รวมไปถึงแผนการตลาดต่างๆ ที่จะทยอยเดินหน้าได้จริงๆ จะชัดเจนมากขึ้นในปีหน้า แม้จะเหมือนกับการขายฝัน และเป็นการยากที่จะทำให้เป็นจริง แต่นี่คือสิ่งที่ TMB จะต้องทำ เพื่อให้ตัวเองอยู่รอด สามารถแข่งขันกับรายอื่นๆ ได้ ก่อนจะถูกกลืนกินไปในที่สุด บล.กิมเอ็ง มองราคาหุ้นมูลค่าที่เหมาะสมในปัจจุบันอยู่ที่ 1.17 บาท/หุ้น และมองว่า TMB มีแนวโน้มที่ดีขึ้นในปี 53 ทั้งในแง่ของการดำเนินงานที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ และโอกาสที่จะสามารถจ่ายเงินปันผลได้ภายหลังการล้างขาดทุนสะสม แต่ผลประกอบการปี 52 ยังอยู่ในระดับต่ำ ราคาดังกล่าวสะท้อนการทำธุรกิจในช่วง 1-3 ปีนี้ มูลค่าที่เหมาะสมปี 53 คือ 1.17 บาท/หุ้น อ้างอิงกับ 1.0 เท่าของมูลค่าทางบัญชีปี 53 มุมมองของ "ธณพงศ์ มีทอง" ที่นี่เป็นแบงก์ใหญ่ เคลื่อนตัวช้า แต่ด้วยการจัดการองค์กรใหม่ ให้มีความทันสมัยมากขึ้น การปรับโครงสร้างครั้งนี้ TMB ทุ่มทุนมหาศาล โดยเฉพาะการพัฒนาคนภายในให้คิดไปในทิศทางเดียวกัน มีเป้าหมายเดียวกัน แม้จะไม่ได้ทำให้ธนาคารแห่งนี้ประสบความสำเร็จขึ้นทันตาเห็น แต่ก็ถือว่ามีทิศทางที่ดี ทุกอย่างจะเห็นเด่นชัดในปีหน้า ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งของบทพิสูจน์คนภายใน ที่จะพร้อมต่อสู้กับการแข่งขันได้มาเพียงใด แม้จะมีบางคนที่โยกย้ายมาจากที่อื่น แม้จะเป็นมืออาชีพ แต่การแข่งขันไม่ใช่เรื่องง่าย หากจะชนะ แต่ด้วย TMB เอง มีสาขาทั่วประเทศ ทีมงานทุกคนหากพร้อมจะเดินหน้า จะทำให้ยักษ์หลับแห่งนี้พร้อมจะลุกขึ้นยืนต่อสู้กับยักษ์ตัวอื่นๆ ได้ หากมีความมุ่งมั่น ทำจริงดัง TMB Way ที่กล่าวข้างต้น อย่างน้อยก็จะทำให้ธนาคารแห่งนี้ดูมีสีสันมากขึ้น ราคาหุ้นบาทกว่าๆ ถือว่าไม่แพง แม้จะดีขึ้นเล็กน้อย หรือต่ำกว่าแผนที่วางใจ ก็ยังถือว่าเดินหน้า เพราะยามนี้ไม่มีอะไรจะเสีย จุดต่ำสุดของการดำเนินงานคงไม่ต้องพูดถึง มันเลยที่จะพูดถึงกันไปแล้ว จากนี้ไปคงจะเดินหน้าอย่างเดียว จะเดินช้า รือเดินเร็ว ก็ถือว่าได้เดิน แม้จะช้ากว่ารายอื่นๆ ก็ถือว่าเดิน ประกอบกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจปีหน้า ถือเป็นโอกาสที่จะให้ TMB แห่งนี้เดินหน้า ตามการฟื้นตัว มองแบบอนุรักษ์นิยม ที่นี่ก็ยังโตได้ ราคาหุ้นในปัจจุบันถูกมากๆ เมื่อเทียบกับราคาพาร์ 10 บาท และเทียบกับแบงก์อื่นๆ ที่พาร์ 10 บาทเหมือนกัน เช่น ACL บอกตามตรง ที่นี่ดีกว่ามากๆ และก่อนจะพูดถึงหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ แม้จะมีปริมาณสูง แต่ทุกอย่างผมเชื่อว่าสามารถจัดการได้ สังเกตุได้จากกำไรที่เพิ่มขึ้นไม่ได้เกิดจากการฟื้นตัวของการดำเนินงานหลัก แต่เกิดจากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ลดลง นั่นหมายถึงการบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ดีขึ้น สามารถเพิ่มสัดส่วนเงินฝากกระแสรายวันและออมทรัพย์ (CASA) เพิ่มเป็น 52% ในไตรมาส 3 จาก 37% ในไตรมาส 2 แสดงให้เห็นถึงการบริหารต้นทุนการเงินมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ถ้าธนาคารสามารถทำให้ปริมาณหนี้ด้อยคุณภาพที่มีค่อนข้างสูงลดลง จะช่วยให้ความสามารถในการทำกำไรดีขึ้น จังหวะนี้ หุ้นแบงก์ถือว่ามั่นคงที่สุด แต่เมื่อแบงก์ใหญ่จะเป็นเป้าหมายที่นักลงทุนต่างชาติขายออกในช่วงปลายปี หรือด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม หุ้นแบงก์ตัวเล็กๆ อย่างTMB น่าสนใจ เนื่องจากจะได้รับผลกระทบน้อย หรือหากมีแรงซื้อกลับในกลุ่มแบงก์เมื่อใดก็ตาม ซึ่งคาดว่าในเดือนธันวาคมนี้ จะช่วงกลางเดือน หรือปลายเดือนก็ตาม นี่จะเป็นอีกหนึ่งของแบงก์ที่เกาะกระแสด้วยเช่นกัน คิดแค่นี้แบบไม่ต้องพื้นฐานข้างต้น ก็ถือว่า TMB น่าสนใจในระดับหนึ่งแล้วครับ
|
![]() | Today | 1035 |
![]() | All days | 1035 |
Comments