สรุปประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินรายวัน - ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย |
![]() |
![]() |
![]() |
Wednesday, 16 May 2018 09:37 | |||
สถานการณ์เศรษฐกิจต่างประเทศ สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (Eurostat) รายงานว่า เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัว 0.4% ชะลอตัวจากที่ขยายตัว 0.7% ในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว และสอดคล้องกับตัวเลขเบื้องต้นที่มีการเปิดเผยเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เศรษฐกิจยูโรโซนมีการขยายตัว 2.5% (yoy) นักวิเคราะห์ระบุว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนเกิดจากปัจจัยชั่วคราว และคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 2.3% ในปีนี้ ส่วนในปี 2562 และ 2563 จะมีการเติบโต 2.0% และ 1.7% ตามลำดับ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจทรงตัวที่ระดับ 1.929 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบรายเดือน ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนกุมภาพันธ์ นอกจากนี้ สต็อกสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น 3.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว ทั้งนี้ สต็อกสินค้าในภาคค้าปลีกดิ่งลงมากที่สุดในรอบ 6 เดือน สวนทางการเพิ่มขึ้นของสต็อกสินค้าภาคค้าส่งและภาคการผลิต สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) ของสหรัฐฯ รายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 2 จุด สู่ระดับ 70 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 69 ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านได้รับปัจจัยหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่ง และปริมาณสต็อกบ้านในระดับต่ำ แต่ก็ถูกกดดันจากปัจจัยค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้านที่เพิ่มขึ้น ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) สาขานิวยอร์ก รายงานว่า ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Index) ในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 20.1 โดยสูงกว่าระดับ 15.5 ที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ นักลงทุนเพิ่มคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จำนวน 4 ครั้งในปีนี้ หลังจากที่สหรัฐเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาส 51% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค. ซึ่งจะเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 4 ในปีนี้ ขณะเดียวกันนักลงทุนยังคาดว่า Fed มีโอกาส 95% ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิ.ย. และมีโอกาส 81.4% ที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย. สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนีได้เปิดเผยการประมาณการครั้งแรกของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 1/2561 ขยายตัว 0.3% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ช้าที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2559 สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัว 7% ซึ่งชะลอตัวลงจากช่วงเดือนม.ค.-มี.ค.ซึ่งมีการขยายตัว 7.5% และเป็นการชะลอตัวลงติดต่อกันเดือนที่ 2 นายหลิว อ้ายหัว โฆษก NBS กล่าวว่า แม้การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรขยายตัวในอัตราที่ช้าลง แต่โครงสร้างการลงทุนยังคงเป็นไปอย่างเหมาะสม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางเศรษฐกิจและอุปทานที่ฟื้นตัวขึ้น ทั้งนี้ การลงทุนด้านสาธารณูปโภคในช่วงเดือนม.ค.-เม.ย. ขยายตัว 12.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากช่วงเดือนม.ค.-มี.ค.ซึ่งขยายตัว 13%สำหรับการลงทุนด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของจีนในช่วงเดือนม.ค.-เม.ย. ขยายตัว 10.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งชะลอลงเล็กน้อยจากที่ขยายตัว 10.4% ในช่วงเดือนม.ค.-มี.ค. สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า ยอดค้าปลีกเดือนเม.ย.ปรับตัวเพิ่มขึ้น 9.4% เทียบรายปี ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือนมี.ค.ที่ขยายตัว 10.1% รายงานระบุว่า ยอดค้าปลีกในพื้นที่ชนบทปรับตัวเพิ่มขึ้น 10.6% ในเดือนเม.ย. ซึ่งมากกว่ายอดค้าปลีกในเขตเมืองที่ขยายตัว 9.2% สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย.ขยายตัว 7% ซึ่งสูงกว่าเดือนมี.ค.ที่ขยายตัว 6% ส่วนในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 6.9% เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดือนม.ค.-มี.ค.ที่ขยายตัว 6.8%
สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศ นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ขณะนี้การระดมทุนด้วยรูปแบบของการเสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัลให้แก่ประชาชนครั้งแรก (ICO) ไม่สามารถดำเนินการได้จนกว่า ก.ล.ต.จะออกหลักเกณฑ์การกำกับดูแลออกมา เนื่องจากการออก ICO นับจากนี้จะถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายหลังจากมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ก.ล.ต.จะเริ่มกระบวนการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนที่มีต่อกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ในสัปดาห์หน้า ซึ่งน่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ และคาดว่าจะประกาศหลักเกณฑ์ออกมาได้อย่างช้าไม่เกินสิ้นเดือน มิ.ย.61
ปัจจัยต่างประเทศ (16 พฤษภาคม 2561): ตามเวลาประเทศไทย ประเทศ ปัจจัย ญี่ปุ่น - ตัวเลขประมาณการเบื้องต้น GDP ไตรมาส 1/2561 จีน - ดัชนีราคาบ้านเดือนเม.ย. เยอรมนี - ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย. EU - ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย. USA - ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนเม.ย. - การผลิตภาคอุตสาหกรรม-การใช้กำลังการผลิตเดือนเม.ย.
ปัจจัยในประเทศ วันที่ ปัจจัย สัปดาห์ที่ 3 สภาธุรกิจตลาดทุนไทย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน สัปดาห์ที่ 3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม, ยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ 16 พ.ค. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) 3/2561 Source: http://www.ryt9.com/s/iq03/2819751om/s/iq03/2814042
Money Market - ดอลลาร์/บาท วันอังคาร (15 พค) เงินบาททรงตัวเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในเช้าวันนี้ อย่างไรก็ดีช่วงต้นสัปดาห์ดอลลาร์สหรัฐฯได้ปัจจัยหนุนจากการที่ความกังวลต่อปัญหาการค้าสหรัฐฯกับจีนผ่อนคลายลงหลังประธานาธิบดีสหรัฐฯแสดงความเต็มใจที่จะช่วยเหลือบริษัทโทรคมนาคมขนาดใหญ่ของจีนที่ถูกลงโทษก่อนหน้านี้จากการที่ฝ่าฝืนมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯต่ออิหร่าน อย่างไรก็ดีการที่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯที่ออกมาในสัปดาห์ก่อนต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก็ทำให้นักลงทุนบางส่วนมองว่าธนาคารกลางสหรัฐฯอาจจะไม่เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากนักในปีนี้ และปัจจัยดังกล่าวก็จำกัดการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงนี้ ทั้งนี้ในช่วงตลาดสหรัฐฯดอลลาร์สหรัฐฯได้ปรับตัวแข็งค่าอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญรวมทั้งเงินบาทขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้นมาอยู่เหนือระดับ 3% ได้อย่างแข็งแกร่ง โดยมีปัจจัยหนุนจากการที่ความกังวลของนักลงทุนต่อปัญหาคาบสมุทรเกาหลีและปัญหาการค้าสหรัฐฯกับจีนที่บรรเทาลงทำให้นักลงทุนหันมาให้ความสำคัญกับปัจจัยเรื่องส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างสหรัฐฯกับประเทศต่างๆมากขึ้น - ดอลลาร์/เยน วันอังคาร (15 พค) เงินเยนอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในเช้าวันนี้สอดคล้องกับการที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯสูงขึ้นเมื่อคืนนี้ โดยช่วงนี้นักลงทุนคลายความวิตกเรื่องปัญหาการค้าสหรัฐฯกับจีนลงมาเล็กน้อย ขณะที่ปัญหาคาบสมุทรเกาหลีก็คลี่ตลายลงมาบ้างจากการที่สหรัฐฯกับเกาหลีเหนือจะประชุมกันในเดือนมิถุนายนนี้ ทั้งนี้ในช่วงตลาดสหรัฐฯดอลลาร์สหรัฐฯได้ปรับตัวแข็งค่าอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญรวมทั้งเงินเยนตามการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯเนื่องจากนักลงทุนหันมาให้ความสำคัญกับปัจจัยเรื่องส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างสหรัฐฯกับประเทศต่างๆมากขึ้น - ยูโร/ดอลลาร์ วันอังคาร (15 พค) เงินยูโรแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในเช้าวันนี้ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเงินยูโรได้ปัจจัยหนุนจากการที่นาย Francois Villeroy de Galhau ซึ่งเป็นกรรมการนโยบายการเงินของ ECB กล่าวว่า ECB จะชี้เกี่ยวกับช่วงเวลาที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในช่วงที่ใกล้จะถึงเวลาการสิ้นสุดโครงการ QE ทั้งนี้ในช่วงตลาดสหรัฐฯดอลลาร์สหรัฐฯได้ปรับตัวแข็งค่าอย่างรวดเร็วตามการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ
Capital Market - ตลาดหุ้นสหรัฐฯวันอังคาร (15 พ.ค.) ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (15 พ.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบจากผลประกอบการที่น่าผิดหวังของบริษัทโฮม ดีโปท์ อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทจำหน่ายสินค้าตกแต่งบ้านที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐ รวมทั้งกระแสคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,706.41 จุด ลดลง 0.78% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,711.45 จุด ลดลง 0.68% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,351.63 จุด ลดลง 0.81% - ตลาดหุ้นเอเชีย วันอังคาร (15 พค) ดัชนีนิกเกอิปิดปรับตัวลงในวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนขายทำกำไรหลังจากดัชนีนิกเกอิเพิ่มขึ้นแข็งแกร่งก่อนหน้านี้โดยดัชนีนิกเกอิปิดลดลง 0.21% มาอยู่ที่ระดับ 22,818.02 หุ้นที่ปรับตัวลงในวันนี้นำโดยหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มบริการ และกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปิดเพิ่มขึ้น 0.58% มาอยู่ที่ 3,192.58 หลังการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจจีนเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยวันนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า ยอดค้าปลีกเดือนเม.ย.ปรับตัวเพิ่มขึ้น 9.4% เทียบรายปี ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือนมี.ค.ที่ขยายตัว 10.1% การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย.ขยายตัว 7% ซึ่งสูงกว่าเดือนมี.ค.ที่ขยายตัว 6% การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัว 7% ซึ่งชะลอตัวลงจากช่วงเดือนม.ค.-มี.ค.ซึ่งมีการขยายตัว 7.5% การลงทุนด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของจีนในช่วงเดือนม.ค.-เม.ย. ขยายตัว 10.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งชะลอลงเล็กน้อยจากที่ขยายตัว 10.4% ในช่วงเดือนม.ค.-มี.ค. - ตลาดหุ้นไทย วันอังคาร ( 15 พ.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้ลดลงนำโดยหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เงินทุนและหลักทรัพย์ ปิโตรเคมี พลังงาน และพาณิชย์ โดยปิดตลาดวันนี้ SET INDEX ลดลง 6.24 จุด
โดย สำนักวิจัยธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประจำวันที่ 16 พ.ค. 2561
|
![]() | Today | 1167 |
![]() | All days | 1167 |
Comments